วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

รู้หรือไม่ว่า การเลือกสินค้าจากร้านประมูลออนไลน์ ได้หรือเสีย คุ้มหรือไม่คุ้ม

0 ความคิดเห็น
 

ปัจจุบันโลกของการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ง่าย เทคโนโลยีด้านเครือข่ายอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ยิ่งผู้ใช้งานมือใหม่ ต้องระวังตัวมากยิ่งขึ้น ในโลกออนไลน์ มีทั้งเว็บขายของ ที่น่าเชื่อถือ อาทิ ลาซาด้า หรือ ตลาดดอทคอม หรือ ShopAt24.com หรือ ขายดี  หรือ CMART  เป็นต้น

LAZADA.com



 
 
ShopAt24.com เครือ CP
 
 
Kaidee.com



 
CMART เครือ BIG C

นอกจากจะมีร้านค้าออนไลน์ มากมาย ทั้งที่เป็นร้านค้าขนาดใหญ่ ร้านค้าเล็กๆ ที่สร้างร้านขายของ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเครื่องสำอางค์ กระเป๋าสตรี เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล้กทรอนิกส์ VCD/DVD สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอื่นๆอีกมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ของวงการ e-commerce เมืองไทย แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ เกิดเว็บนำสินค้ามานำเสนอ ในวิธีการ ประมูล ส่วนใหญ่เริ่มราคาที่ 1 บาท โดยปัจจุบัน การประมูลสินค้าออนไลน์ที่กำลังนิยมและเป็นกระแส ทั้งแง่ลบ และแง่เกือบบวก โดยหลายๆคนที่เข้าไปประสบวิถีชีวิต เรื่องราว  อาจจะมีบ้างที่สมหวังเล็กๆ ปัญหาเรื่องของที่ประมูล ส่วนใหญ่สินค้า จะเป็นสินค้าเกรดต่ำจากประเทศจีน (ย้ำว่าเกรดต่ำ เพราะประเทศจีน เป็นประเทศที่มีโรงงานผลิตสินค้าได้หลากหลายเกรด สินค้าระดับพรีเมี่ยมในตลาดประเทศเราหรือหลายๆประเทศ แบรนด์ดังๆก็ทำในจีนมากต่อมาก ไม่เชื่อลองดูไม่ว่าจะเป็น Notebook, Smartphone นาฬิกา, โทรทัศน์, เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆอีกมากมาย ) แม้ว่าเว็บประมูล จะลงภาพประกอบพร้อมคำสำคัญ คำอธิบาย แต่เชื่อเถอะว่า ไม่ละเอียดมากนัก


เรามาดูว่าในบ้านเรามีเว็บประมูลแบบไหนบ้าง

แบบแรก ประมูล สินค้า แข่งราคากัน 1 หรือ 2 หรือ 5 หรือ คิดเป็นเปอร์เซนต์ โดยมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เข้าประมูลต้องแสดงตนเป็นสมาชิก โดยการกรอกรายละเอียด หรือผ่านทาง facebook เว็บจำพวกนี้ส่วนใหญ่สินค้าจะมีคุณภาพต่ำ
แต่ถ้าเป็นเว็บสินค้าแบรนด์ สินค้านำเข้า อาทิ จากญี่ปุ่น ก็ จะมีเว็บ ที่จดทะเบียนขออนุญาตจากทางการไทย ใครสนใจก็ลองค้นหาดู

แบบที่สองจะคล้ายกับเว็บแรก แต่สินค้าจะมีทั้งสินค้าเลียนแบบและสินค้าจริงที่มีขายกันในท้องตลาด (ทั้งของจริง และของเสมือนจริง) การประมูลเป็นลักษณะเหมือนแบบแรก การเป็นสมาชิกก็จะเหมือนกัน แต่ภาพรวมของสินค้า ค่อนข้างจะดีกว่า


แบบที่สามเป็นเว็บประมูลแบบลงเครดิตหรือที่เรียกกันว่า บิด (BID) ผู้เข้าประมูลต้องเสียเงินซื้อบิด (ผ่านระบบธนาคาร เครดิตการ์ด,  Paysbuy, PayPal, เคานท์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven, เทสโก้ โลตัส และอีกหลายช่องทาง ที่เว็บนั้นๆออกแบบ) เพื่อนำบิดดังกล่างไปวางแข่งประมูล ในสินค้าแต่ละตัวแต่ละชิ้น จะมีผู้สมหวังเพียง หนึ่งคน (ย้ำอีกทีว่า เพียง 1 คน)  แต่ อีกหลายคนต้องโยนเงินของตนเข้าไปในกระดานเว็บ หายสาบสูญฟรีๆ จำนวนหลายสิบคน ต่อ หนึ่งรายการสินค้า (บางเว็บอาจจะมีเทคนิคจูงใจแปรเปลี่ยนบิดเป็นแต้มสะสม)  สินค้าโดนส่วนใหญ่ค่อนข้างดี

ผู้เขียนได้เข้าไปเฝ้าติดตาม รวมถึงทดสอบกระบวนการดังกล่าวมาหลายเว็บ รวมถึงติดตามสอบถามผู้ประมูล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบชะตากรรม พอสรุปได้ ดังนี้

1.ได้ของที่ไม่มีคุณภาพ ของชำรุด  เช่น
   ช้อนสะเตนเลส สุดแสนจะบาง ทั้งๆที่โฆษณาว่า ผลิตจากสแตนเลสเนื้อดี น้ำหนักเบา ด้ามจับถนัดมือ จริงเรื่องเดียวคือ น้ำหนักเบา มีสิทธิ บาดปากได้
   
   เมาส์ไร้สาย ที่คุณภาพต่ำ ความไว ความแม่นยำในการใช้งานต่ำ (สงสัยว่า คนในบริษัทเหล่านี้ใช้เมาส์ของบริษัทตัวเองไหมนะ)

   ที่สูบลมจักรยาน หน้าปัดชำรุด หลุดกระจาย

เป็นต้น

2.ได้ของไม่ตรงกับภาพ ของจริงกับรายละเอียดที่แสดงไว้แตกต่างกัน

3.ราคาที่ได้ อาจจะไม่ถูกจริง เพราะต้องแข่งกับคนของเว็บ กับ Bot  ที่เป็นระบบอัตโนมัติ

4.ประมูลไม่ได้ ต้องเสียเงินฟรี (ในรูปของ Bid) และต้องปล่อยให้สูญเงินไป โดยวิธีการนี้ ต้องมีเวลา มีจำนวนบิดในมือค่อนข้างมากในการตาม ต้องรู้จักเลือกสินค้า ซึ่งมีเว็บหลายแห่งที่ ไม่ค่อยเอาเปรียบลูกค้านัก เพราะเว็บแบบนี้ จะได้กำไรสูงอยู่แล้ว เพราะเมื่อมีผู้แข่งมากขึ้น ผู้ได้ จะได้เพียงรายเดียว แต่คนอื่นที่ร่วมวงแข่ง คือผู้เสียบิด

5.สินค้าชำรุดการเคลมสินค้ายาก การเคลมเพื่อเปลี่ยนใหม่มีขั้นตอนกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากหรือทำได้ยากและช้ากว่าตอนซื้อหลายเท่า

.............................................................................................................................................
ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปลองประมูลลองศึกษาจาก search Google  ดูนะครับ  หรือ จะหาอ่านประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บประมูลสินค้า ก็ได้
 .............................................................................................................................................
 
 
 
 
 
สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  ได้ระบุแจกแจงแบ่งประเภท ธุรกิจ e-Commerce โดยแบ่งตามรูปแบบการค้าไว้ 5 ประเภทดังต่อไปนี้


        1) รูปแบบรายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue)
     เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัทและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อรองกับลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือ โอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ www.toyota.co.th เป็นต้น



        2) ร้านค้าปลีก (e-Tailer)
     แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง โดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ซื้อ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ www.amazon.com เป็นต้น



        3) การประมูลสินค้า (Auction)
     ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ แต่อาศัยผู้ให้บริการเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งแก่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้ทั้ง 2 ทาง คือผู้ขายเสนอขายก่อนแล้วให้ผู้ซื้อแข่งกันเสนอราคาซื้อภายในเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ ตัวอย่างเว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ www.ebay.com


และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อนแล้วให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่ กำหนด ผู้เสนอราคาขายต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้จะถูกเรียกว่า Reverse Auction หรือ การประมูลแบบย้อนกลับ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ https://reverseauctions.gsa.gov/reverseauctions/reverseauctions/นอกจากนี้ กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่นบริษัทเยเนอรัลมอเตอร์ หรือ อีจี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อ โดยให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procurement ก็ได้

        4) ประกาศซื้อขายสินค้า (Web Board/e-Classified)
     เป็นรูปแบบเว็บไซต์ ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เช่น www.pantipmarket.com หรือ www.sanook.com เป็นต้น


จึงมักจัดให้มีกระดานข่าว (Webboard) เฉพาะ สำหรับการซื้อขายสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะการโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์ หรือ e-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อ เนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซืั้อ และพร้อมรับชำระเงินทันที

        5) ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace)
     การสร้างเว็บไซต์ ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าที่สนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่ผู้ขายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมาก แต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจซื้อสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้า เฉพาะเรื่อง กับตลาดกลางอิเลกทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าทั่วไป ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าเฉพาะเรื่อง จัดตั้งขึ้่นมาเพื่อซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่อง เช่น


 เว็บไซต์ www.one2car.com ก็เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายรถยนต์มือสอง ในประเทศไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นี้ก่อนใช้บริการหรือตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสินค้าทั่วไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่
สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 ประเทศไทย
 โทร. 0-2547-5959-60 โทรสาร. 0-2547-5973 สายด่วน 1570

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.dbdmart.com/learning/default/lesson/id/15

Leave a Reply

เรื่องเด่นน่าอ่าน